เลือกอะไรดี! 2 เทคนิค ลดน้ำหนัก ตัดกระเพาะอาหาร VS ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร วิธีไหนเห็นผลชัวร์?

24 มกราคม ค.ศ. 2024 โดย
Wordpress Author

เพราะ โรคอ้วน คือจุดเริ่มต้นความเสี่ยงของโรคภัยไข้เจ็บ ดังนั้นเหตุผลในการ ลดน้ำหนัก อาจไม่ใช่เพื่อรูปร่างที่ดีขึ้นเพียงอย่างเดียวแต่สุขภาพและคุณภาพชีวิตต้องดีขึ้นควบคู่ไปด้วย การลดน้ำหนักและลดความอ้วน นอกจากการควบคุมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย รวมถึงกินยาลดความอ้วนแล้ว ในทางการแพทย์ยังมีอีกหลายวิธีในการลดน้ำหนัก อาทิเช่น ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร ตัดกระเพาะอาหาร หรือใส่ห่วงรัดกระเพาะอาหาร เป็นต้น วันนี้เราจะพามาไขข้อสงสัยกับเทคนิค ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน ด้วยวิธีทางการแพทย์ ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร และ ตัดกระเพาะอาหาร 2 วิธีเหมือนหรือต่างกันอย่างไร แล้วจะเลือกอะไรดี? สำหรับผู้ที่ลดความอ้วนมาแล้วทุกวิธีแต่ไม่ได้ผลควรเลือกวิธีไหนให้เห็นผลและตอบโจทย์ที่สุด เรามาทำความเข้าใจไปพร้อมกันเลยค่ะ  

การผ่าตัดศัลยกรรม ลดน้ำหนัก ในทางการแพทย์จะมี 4 วิธี ซึ่งประกอบไปด้วย

  1. การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
  2. การใส่ห่วงรัดกระเพาะอาหาร
  3. การตัดกระเพาะอาหารบางส่วนแบบสลีฟ
  4. การตัดกระเพาะอาหารแบบบายพาส

ในวันนี้เราจะมาพูดถึง 2 วิธีที่นิยมในทางการแพทย์ คือ การตัดกระเพาะอาหารบางส่วนแบบสลีฟ และ การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร ซึ่งการตัดสินใจว่าจะเลือกทำการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักรูปแบบไหนนั้น ควรเข้ามาปรึกษา และรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และปลอดภัยที่สุด เข้ากับร่างกายของแต่ละบุคคลโดยเฉพาะค่ะ 

2 วิธี ลดน้ำหนัก ตัดกระเพาะอาหาร VS ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร ตัดกระเพาะอาหาร ลดน้ำหนักไม่ใช้ยา รีวิวตัดกระเพาะอาหาร

การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร ลดน้ำหนักแบบปลอดภัย ไม่ต้องใช้ยา

การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร คือ การลดน้ำหนักชนิดหนึ่งที่ไม่ต้องผ่าตัดและไม่ต้องใช้ยาลดความอ้วน โดยศัลยแพทย์จะใส่บอลลูนซิลิโคนเข้าไปในกระเพาะอาหาร ด้วยการใช้เทคนิคการส่องกล้อง และวางบอลลูนในตำแหน่งที่เหมาะสมศัลยแพทย์ หลังจากนั้นศัลยแพทย์จะใส่น้ำเกลือผสมกับสารสีฟ้าที่เรียกว่าเมทิลีนบูล (Methylene Blue) ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เข้าไปในบอลลูนให้ขยายตัวขึ้นตามการประเมินของศัลยแพทย์ ทำให้กระเพาะรับอาหารได้น้อยลง ผู้รับบริการจะรู้สึกอิ่มตลอดเวลา ซึ่งวิธีนี้จะใช้ในการรักษาผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน เพื่อช่วยในการลดน้ำหนัก 

การใส่บอลลูนสามารถลดน้ำหนักได้ถึง 20 กิโลกรัมภายใน 1 ปี โดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และใช้ระยะเวลาในการใส่บอลลูนประมาณ 6-12 เดือน หรือ ในกรณีน้ำหนักลดลงจนเป็นที่น่าพอใจแล้ว สามารถนำบอลลูนซิลิโคนออกได้เลย ผู้รีบบริการไม่จำเป็นต้องใส่บอลลูนตลอดชีวิต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการประเมินของศัลยแพทย์

ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารเหมาะกับใคร

ใครที่เหมาะกับการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร?

คนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ค่า BMI เกิน 27 และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น การนอนกรน การหยุดหายใจขณะหลับ อาการปวดเข่า เข่าเสื่อม โรคเบาหวาน

ประโยชน์ของการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

  • ขณะใส่บอลลูนช่วยให้อิ่มเร็วและนานขึ้นกว่าปกติ 
  • ทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว โดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อยู่ภายใต้การดูแลของศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • สามารถลดอาการเสี่ยงจากโรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำหนักเกินได้ (โรคข้อเข่าเสื่อม คอเรลเตอรอลในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคความดันสูง)
  • สุขภาพร่างกายดีขึ้น
  • ทำให้มีรูปร่างที่ดีขึ้น เพิ่มความมั่นใจให้กับผู้รับบริการ

ข้อดีของการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

จุดเด่นของการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

  • ผู้รับบริการไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล สามารถกลับบ้านได้ใน 1-2 ชั่วโมงหลังการใส่บอลลูน
  • ฟื้นตัวเร็ว ไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีรอยแผล ไม่ต้องใช้ยา และไม่เจ็บ
  • มีความปลอดภัยสูง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

ข้อจำกัดของการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

  • เมื่อน้ำหนักลงได้สักระยะ 4-6 เดือน มีโอกาสที่จะไม่รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงทำให้ต้องมาเพิ่มน้ำเกลืออีกครั้ง ทำให้อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายหลายครั้ง
  • อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
  • อาจเกิดภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร
  • อาจเกิดภาวะอุดตันในกระเพาะอาหาร

ผู้ที่ไม่ควรทำบอลลูนในกระเพาะอาหาร

  • สตรีตั้งครรภ์หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์
  • ผู้ที่มีความผิดปกติในหลอดอาหาร ทำให้ส่องกล้องลงไปไม่ได้เช่นหลอดอาหารตีบตัน รั่ว หรือเคยได้รับอุบัติเหตุกับหลอดอาหาร
  • ผู้ที่มีความผิดปกติในกระเพาะอาหารเช่นเป็นแผลในกระเพาะ มีอาการตกเลือดในกระเพาะ รวมถึงผู้ที่มีภาวะกรดไหลย้อนอย่างรุนแรง
  • ผู้ที่มีภาวะเลือดออกง่าย เลือดแข็งตัวยาก แพ้ยางซิลิโคน รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัวรุนแรง ได้แก่ โรคติดเชื้อในกระแสเลือด ปอดติดเชื้อ ติดเชื้อในช่องท้อง เป็นต้น

การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารสามารถช่วยให้น้ำหนักลดลงได้ ทั้งนี้เพื่อให้การลดน้ำหนักมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ควรมีการควบคุมการรับประทานอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร ตัดกระเพาะอาหาร ลดน้ำหนักไม่ใช้ยา รีวิวตัดกระเพาะอาหาร

ตัดกระเพาะอาหาร แบบสลีฟ ลดน้ำหนักแบบปลอดภัย เห็นผลไว

การผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบสลีฟ (Laparoscopic Sleeve Gastrectomy – LSG) ถูกออกแบบมาสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากและไม่สามารถทำการผ่าตัดลดน้ำหนักแบบบายพาสที่ถือเป็นวิธีมาตรฐานได้ จึงจำเป็นต้องผ่าตัดแบบสลีฟ เพื่อให้น้ำหนักตัวลดลงก่อน โดยศัลยแพทย์จะผ่าตัดเอากระเพาะออกไปประมาณ 80% ซึ่งรวมถึงส่วนที่ผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมความหิวออกไปด้วย ทำให้ผู้รับบริการสามารถรับประทานอาหารได้น้อยลง และสามารถลดน้ำหนักได้มากถึง 40 – 60% จากน้ำหนักตั้งต้น นอกจากนี้ยังเป็นการรักษาโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วนได้แก่เบาหวาน ไขมัน ความดัน และการหยุดหายใจขณะหลับได้อีกด้วย

ดังนั้นการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบสลีฟจึงได้รับการรับรองจากสถาบันทางการแพทย์หลายแห่งทั่วโลก ให้เป็นการรักษาทางเลือกสำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วน และโรคเรื้อรังจากโรคอ้วน ซึ่งการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักสามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป หากได้รับความเห็นชอบทางการแพทย์ กุมารแพทย์ และผู้ปกครอง ถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจจะได้รับ

ใครที่เหมาะกับการ ตัดกระเพาะอาหาร แบบสลีฟ?

  • มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 32.5 ขึ้นไป
  • อายุ 18 ปีขึ้นไปและอายุไม่เกิน 75 ปี
  • มีภาวะโรคอ้วน และโรคเรื้อรังจากโรคอ้วน อาทิเช่น โรคความดัน เบาหวาน
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากและไม่สามารถทำการผ่าตัดลดน้ำหนักแบบบายพาสที่ถือเป็นวิธีมาตรฐานได้  จำเป็นต้องตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟ เพื่อให้น้ำหนักตัวลดลงก่อน

ประโยชน์ของการ ตัดกระเพาะอาหาร แบบสลีฟ

  • ช่วยในการ ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน ลดขนาดกระเพาะให้เล็กลงเพื่อควบคุมความหิว ทำให้รับประทานได้น้อยลงและรู้สึกอิ่มเร็ว
  • ช่วยบรรเทาอาการของโรคเรื้อรังที่เกิดจากความอ้วน (โรคเบาหวาน และโรคความดัน)
  • สุขภาพร่างกายดีขึ้น
  • ทำให้มีรูปร่างที่ดีขึ้น เพิ่มความมั่นใจให้กับผู้รับบริการ

จุดเด่นของการผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหาร แบบสลีฟ

  • มีความรู้สึกหิวน้อยลง เนื่องจากถูกผ่าตัดส่วนที่ผลิตฮอร์โมนควบคุมความหิวออกไปด้วย เมื่อพ้นระยะการปรับตัวคนไข้จะสามารถกลับมากินอาหารได้ตามปกติ แต่กินในปริมาณน้อยลงมาก
  • น้ำหนักลดลงอย่างต่อเนื่อง และรวดเร็ว

ผลข้างเคียงที่อาจพบได้หลังผ่าตัดกระเพาะอาหาร

  1. อาการผิวหนังหย่อนคล้อยจากการที่น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว

ข้อจำกัดของการตัดกระเพาะอาหาร

  1. ก่อนผ่าตัดกระเพาะอาหาร 2 สัปดาห์ ผู้รับบริการควรลดนำ้หนักให้ได้อย่างน้อย 5 กิโลกรัม และต้องรับประทานวิตามินเสริมหลังผ่าตัดเพื่อป้องกันภาวะขาดวิตามิน
  2. หลังการผ่าตัดใหม่ๆ ใน 2 อาทิตย์แรก ต้องรับประทานอาหารเหลวก่อนเท่านั้น หากผู้ป่วยไม่ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด อาจทำให้รอยแผลปริแยกและแตกจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

ผู้ที่ไม่ควรเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะอาหาร

  1. ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน
  2. ผู้รับบริการที่เคยผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบใส่ห่วงมาก่อน (ถ้าเคยผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบใส่ห่วง ต้องผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบบายพาสเท่านั้น

สรุป ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร  VS ลดขนาดกระเพาะอาหาร ต่างกันอย่างไร?

ข้อดี

ใส่บอลลูน ช่วยลดความอยากอาหาร ช่วยให้อิ่มเร็ว จำกัดปริมาณอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัดกระเพาะ ทำให้กระเพาะอาหารเล็กลง ลดความอยากอาหารช่วยให้อิ่มเร็ว จำกัดปริมาณอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จุดเด่น

ใส่บอลลูน ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องกินยา พักฟื้นเร็วกว่าการผ่าตัด ใช้เวลาทำสั้น 15-30 นาที

ตัดกระเพาะ ช่วยให้กระเพาะอาหารเล็กลง ลดความอยากอาหารช่วยให้อิ่มเร็ว จำกัดปริมาณอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เหมาะกับ

ใส่บอลลูน ผู้ที่ไม่สามารถควบคุมการรับประทานอาหารได้ ผู้ที่รับประทานอาหารมากผิดปกติ ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักแบบไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องทานยาลดความอ้วน ผู้ที่มีภาวะการนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ คนที่มีอาการปวดเข่า เข่าเสื่อม โรคเบาหวาน ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เกิน 27 หรือ มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 30 ถึง 50 และผู้มีภาวะเสี่ยงที่ไม่สามารถรับการผ่าตัดใด ๆ ได้

ตัดกระเพาะ ผู้ที่ลดความอ้วนด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผลเช่น คุมอาหาร ออกกำลังกาย หรือ กินยาลดความอ้วน ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เกิน 30 ขึ้นไป

ขนาดแผลผ่าตัด

ใส่บอลลูน

ตัดกระเพาะ

ตำแหน่งแผลผ่าตัด

ใส่บอลลูน

ตัดกระเพาะ

ระยะเวลาในการทำ

ใส่บอลลูน

ตัดกระเพาะ

ข้อจำกัด

ใส่บอลลูน ในสัปดาห์แรกหลังใส่บอลลูน ผู้รับบริการอาจมีอาการคลื่นไส้หรือจุกเสียด ไม่เหมาะกับสตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีความผิดปกติของหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร ผู้ที่มีโรคประจำตัวรุนแรง

ตัดกระเพาะ ไม่เหมาะกับคนที่มีโรคประจำตัวเช่นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ มีผลข้างเคียงเหมือนกันผ่าตัดทั่วไป

*การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร เป็นวิธีเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะในขั้นตอนต่อไป

Reality Live รีวิวตัดกระเพาะอาหาร


ตัดกระเพาะ ลดน้ำหนัก ครบ 8 เดือน วันนี้มา Follow up กับคุณหมอค่ะ #รีวิวหมอตั้มSLC

คุยกับคุณหมอตั้มเรื่องการตัดกระเพาะอาหาร #รีวิวหมอตั้มSLC #รีวิวผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ

เอแคลร์ จากเพจ จือปาก มาปรึกษาตัดกระเพาะอาหาร #รีวิวหมอตั้มSLC

สาวน้อยร้อยโล มีความฝันอยากผอม มาปรึกษาตัดกระเพาะอาหารกับคุณหมอตั้ม #รีวิวหมอตั้มSLC


SLC Hospital

Call : +66 2 714 9555

Whatsapp : +66 96 116 0806

Line@ : @SLCCLINIC

Or Click : https://cutt.ly/SLC

Messenger : http://m.me/SLCHospital

Our Branches : https://cutt.ly/branches