**What’s a good choice! 2 techniques to lose weight, cut the stomach vs put a balloon in the stomach How to see results for sure?

เพราะ โรคอ้วน คือจุดเริ่มต้นความเสี่ยงของโรคภัยไข้เจ็บ ดังนั้นเหตุผลในการลดน้ำหนักอาจไม่ใช่เพื่อรูปร่างที่ดีขึ้นเพียงอย่างเดียวแต่สุขภาพและคุณภาพชีวิตต้องดีขึ้นควบคู่ไปด้วย สำหรับผู้ที่ลดความอ้วนด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล เช่น การคุมอาหาร การออกกำลังกาย รวมถึง กินยาลดความอ้วน

วันนี้เราจะพามาไขข้อสงสัย 2 เทคนิค ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน ด้วยวิธีทางการแพทย์ ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร และ ตัดกระเพาะอาหาร 2 วิธีเหมือนหรือต่างกันอย่างไร แล้วจะเลือกอะไรดี เรามาทำความเข้าใจไปพร้อมกันเลยค่ะ 

โดยปกติในกระบวนการผ่าตัดศัลยกรรม ลดน้ำหนัก ในวงการแพทย์จะมี 4 วิธี ซึ่งประกอบไปด้วย

  • การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
  • การใส่ห่วงรัดกระเพาะอาหาร
  • การตัดกระเพาะอาหารบางส่วนแบบสลีฟ
  • การตัดกระเพาะอาหารแบบบายพาส

ในวันนี้เราจะมาพูดถึง 2 วิธีที่นิยมในทางการแพทย์ คือ การตัดกระเพาะอาหารบางส่วนแบบสลีฟ และ การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร ซึ่งการตัดสินใจว่าจะเลือกทำการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักรูปแบบไหนนั้น ควรเข้ามาปรึกษา และรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และปลอดภัยที่สุด เข้ากับร่างกายของแต่ละบุคคลโดยเฉพาะค่ะ 

2 วิธี ลดน้ำหนัก ตัดกระเพาะอาหาร VS ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร คือ การลดน้ำหนักชนิดหนึ่งที่ไม่ต้องผ่าตัดและไม่ต้องใช้ยาลดความอ้วน โดยศัลยแพทย์จะใส่บอลลูนซิลิโคนเข้าไปในกระเพาะอาหาร ด้วยการใช้เทคนิคการส่องกล้อง และวางบอลลูนในตำแหน่งที่เหมาะสมศัลยแพทย์ หลังจากนั้นศัลยแพทย์จะใส่น้ำเกลือผสมกับสารสีฟ้าที่เรียกว่าเมทิลีนบูล (Methylene Blue) ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เข้าไปในบอลลูนให้ขยายตัวขึ้นตามการประเมินของศัลยแพทย์ ทำให้กระเพาะรับอาหารได้น้อยลง ผู้รับบริการจะรู้สึกอิ่มตลอดเวลา ซึ่งวิธีนี้จะใช้ในการรักษาผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน เพื่อช่วยในการลดน้ำหนัก 

การใส่บอลลูนสามารถลดน้ำหนักได้ถึง 20 กิโลกรัมภายใน 1 ปี โดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และใช้ระยะเวลาในการใส่บอลลูนประมาณ 6-12 เดือน หรือ ในกรณีน้ำหนักลดลงจนเป็นที่น่าพอใจแล้ว สามารถนำบอลลูนซิลิโคนออกได้เลย ผู้รีบบริการไม่จำเป็นต้องใส่บอลลูนตลอดชีวิต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการประเมินของศัลยแพทย์

ใครที่เหมาะกับการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร?

คนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ค่า BMI เกิน 27 และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น การนอนกรน การหยุดหายใจขณะหลับ อาการปวดเข่า เข่าเสื่อม โรคเบาหวาน

ประโยชน์ของการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

  • ขณะใส่บอลลูนช่วยให้อิ่มเร็วและนานขึ้นกว่าปกติ 
  • ทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว โดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อยู่ภายใต้การดูแลของศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • สามารถลดอาการเสี่ยงจากโรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำหนักเกินได้ เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม คอเรลเตอรอลในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคความดันสูง เป็นต้น
  • สุขภาพร่างกายดีขึ้น
  • ทำให้มีรูปร่างที่ดีขึ้น เพิ่มความมั่นใจให้กับผู้รับบริการ

จุดเด่นของการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

  • ผู้รับบริการไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล สามารถกลับบ้านได้ใน 1-2 ชั่วโมงหลังการใส่บอลลูน
  • ฟื้นตัวเร็ว ไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีรอยแผล ไม่ต้องใช้ยา และไม่เจ็บ
  • มีความปลอดภัยสูง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

ข้อจำกัดของการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

  • เมื่อน้ำหนักลงได้สักระยะ 4-6 เดือน มีโอกาสที่จะไม่รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงทำให้ต้องมาเพิ่มน้ำเกลืออีกครั้ง ทำให้อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายหลายครั้ง
  • อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
  • อาจเกิดภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร
  • อาจเกิดภาวะอุดตันในกระเพาะอาหาร

ผู้ที่ไม่ควรทำบอลลูนในกระเพาะอาหาร

  • สตรีตั้งครรภ์หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์
  • ผู้ที่มีความผิดปกติในหลอดอาหาร ทำให้ส่องกล้องลงไปไม่ได้ เช่น หลอดอาหารตีบตัน รั่ว หรือเคยได้รับอุบัติเหตุกับหลอดอาหาร
  • ผู้ที่มีความผิดปกติในกระเพาะอาหาร เช่น เป็นแผลในกระเพาะ มีอาการตกเลือดในกระเพาะ รวมถึงผู้ที่มีภาวะกรดไหลย้อนอย่างรุนแรง
  • ผู้ที่มีภาวะเลือดออกง่าย เลือดแข็งตัวยาก แพ้ยางซิลิโคน รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัวรุนแรง เช่น โรคติดเชื้อในกระแสเลือด ปอดติดเชื้อ ติดเชื้อในช่องท้อง เป็นต้น

การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารสามารถช่วยให้น้ำหนักลดลงได้ ทั้งนี้เพื่อให้การลดน้ำหนักมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ควรมีการควบคุมการรับประทานอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การผ่าตัดศัลยกรรม ตัดกระเพาะอาหาร แบบสลีฟ

การผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบสลีฟ (Laparoscopic Sleeve Gastrectomy – LSG) ถูกออกแบบมาสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากและไม่สามารถทำการผ่าตัดลดน้ำหนักแบบบายพาสที่ถือเป็นวิธีมาตรฐานได้ จึงจำเป็นต้องผ่าตัดแบบสลีฟ เพื่อให้น้ำหนักตัวลดลงก่อน โดยศัลยแพทย์จะผ่าตัดเอากระเพาะออกไปประมาณ 80% ซึ่งรวมถึงส่วนที่ผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมความหิวออกไปด้วย ทำให้ผู้รับบริการสามารถรับประทานอาหารได้น้อยลง และสามารถลดน้ำหนักได้มากถึง 40 – 60% จากน้ำหนักตั้งต้น นอกจากนี้ยังเป็นการรักษาโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วน เช่น เบาหวาน ไขมัน ความดัน และการหยุดหายใจขณะหลับได้อีกด้วย

ดังนั้นการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบสลีฟจึงได้รับการรับรองจากสถาบันทางการแพทย์หลายแห่งทั่วโลก ให้เป็นการรักษาทางเลือกสำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วน และโรคเรื้อรังจากโรคอ้วน ซึ่งการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักสามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป หากได้รับความเห็นชอบทางการแพทย์ กุมารแพทย์ และผู้ปกครอง ถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจจะได้รับ

ตัดกระเพาะอาหาร แบบสลีฟ เหมาะกับใคร?

ประโยชน์ของการ ตัดกระเพาะอาหาร แบบสลีฟ

จุดเด่นของการผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหาร แบบสลีฟ

  • มีความรู้สึกหิวน้อยลง เนื่องจากถูกผ่าตัดส่วนที่ผลิตฮอร์โมนควบคุมความหิวออกไปด้วย
  • น้ำหนักลดลงอย่างต่อเนื่อง และรวดเร็ว
  • เป็นการช่วยบรรเทาอาการของโรคเรื้อรังที่เกิดจากความอ้วน เช่น เบาหวาน ความดัน เป็นต้น
  • เมื่อพ้นระยะการปรับตัวคนไข้จะสามารถกลับมากินอาหารได้ตามปกติ แต่กินในปริมาณน้อยลงมาก
  • ข้อเสียของการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบสลีฟ
  • ไม่สามารถทำกับผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนได้
  • ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่เคยผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบใส่ห่วงมาก่อน (ถ้าเคยผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบใส่ห่วง ต้องผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบบายพาสเท่านั้น
  • ความเสี่ยงจากการผ่าตัดจะมีมากขึ้น ถ้าแพทย์ไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอหรือคนไข้มีน้ำหนักมากเกินไปโดยไม่เตรียมตัวก่อนการผ่าตัด
  • หลังการผ่าตัดใหม่ๆ ใน 2 อาทิตย์แรก ต้องรับประทานอาหารเหลวก่อนเท่านั้น หากผู้ป่วยไม่ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด อาจทำให้รอยแผลปริแยกและแตก ถึงขั้นเสียชีวิตได้ตามข่าวต่าง ๆ

ผลข้างเคียงที่อาจพบได้

ข้อจำกัด

ผู้ที่ไม่ควรเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะอาหาร

สรุป ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร  VS ลดขนาดกระเพาะอาหาร ต่างกันอย่างไร?

ข้อดี

ใส่บอลลูน ช่วยลดความอยากอาหาร ช่วยให้อิ่มเร็ว จำกัดปริมาณอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัดกระเพาะ ทำให้กระเพาะอาหารเล็กลง ลดความอยากอาหารช่วยให้อิ่มเร็ว จำกัดปริมาณอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จุดเด่น

ใส่บอลลูน ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องกินยา พักฟื้นเร็วกว่าการผ่าตัด ใช้เวลาทำสั้น 15-30 นาที

ตัดกระเพาะ ช่วยให้กระเพาะอาหารเล็กลง ลดความอยากอาหารช่วยให้อิ่มเร็ว จำกัดปริมาณอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เหมาะกับ

ใส่บอลลูน ผู้ที่ไม่สามารถควบคุมการรับประทานอาหารได้ ผู้ที่รับประทานอาหารมากผิดปกติ ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักแบบไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องทานยาลดความอ้วน ผู้ที่มีภาวะการนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ คนที่มีอาการปวดเข่า เข่าเสื่อม โรคเบาหวาน ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เกิน 27 หรือ มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 30 ถึง 50 และผู้มีภาวะเสี่ยงที่ไม่สามารถรับการผ่าตัดใด ๆ ได้

ตัดกระเพาะ ผู้ที่ลดความอ้วนด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล เช่น คุมอาหาร ออกกำลังกาย หรือ กินยาลดความอ้วน ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เกิน 30 ขึ้นไป

ขนาดแผลผ่าตัด

ใส่บอลลูน

ตัดกระเพาะ

ตำแหน่งแผลผ่าตัด

ใส่บอลลูน

ตัดกระเพาะ

ระยะเวลาในการทำ

ใส่บอลลูน

ตัดกระเพาะ

ข้อจำกัด

ใส่บอลลูน ในสัปดาห์แรกหลังใส่บอลลูน ผู้รับบริการอาจมีอาการคลื่นไส้หรือจุกเสียด ไม่เหมาะกับสตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีความผิดปกติของหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร ผู้ที่มีโรคประจำตัวรุนแรง

ตัดกระเพาะ ไม่เหมาะกับคนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ มีผลข้างเคียงเหมือนกันผ่าตัดทั่วไป

*การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร เป็นวิธีเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะในขั้นตอนต่อไป


SLC Hospital

Call : +66 2 714 9555

Whatsapp : +66 96 116 0806

Line@ : @SLCCLINIC

Or Click : https://cutt.ly/SLC

Messenger : http://m.me/SLCHospital

Our Branches : https://cutt.ly/branches