ก่อนทำศัลยกรรม ทุกประเภทที่ต้องมีการดมยาสลบมีข้อกำหนดและข้อควรปฏิบัติใดบ้างที่ผู้รับบริการต้องเตรียมความพร้อมก่อนดมยาสลบอย่างไร ก่อนทำหน้าอกงดอะไรบ้าง ก่อนทำจมูกงดอะไรบ้าง ก่อนทำศัลยกรรมห้ามกินอะไร หรือมีข้อห้ามอะไรบ้างที่ต้องเลี่ยงและหยุดทำ ก่อนการผ่าตัดศัลยกรรมแบบ ดมยาสลบ เพื่อความปลอดภัยขณะเข้ารับบริการอย่างสูงสุด วันนี้เรามาดูวิธีเตรียมตัวและข้อปฏิบัติที่ควรทำตามอย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของ วิสัญญีแพทย์ ไปพร้อมกันเลยค่ะ เพราะชาวเราทำสวยทั้งทีต้องไม่มีคำว่าเสี่ยง อิอิ
หลับแล้วตื่นฟื้นมาสวย ก่อนทำศัลยกรรม แบบดมยาสลบต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง
1. ขั้นตอนแรกของการ เตรียมตัวก่อนศัลยกรรม ผู้รับบริการจะต้องแจ้งประวัติทางการแพทย์ให้ครบ
ในวันปรึกษาหรือนัดคิวผ่าตัดศัลยกรรม ผู้รับบริการควรแจ้งประวัติทางการแพทย์ เพื่อวางแผนการผ่าตัดให้เหมาะสม โดยแพทย์อาจซักถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การตั้งครรภ์ ปัจจัยและปัญหาสุขภาพอื่น ๆ โรคประจำตัว ประวัติการใช้ยาและยาชนิดใดที่กำลังใช้อยู่ ประวัติการแพ้ยาแพ้อาหาร ประวัติแพ้ยาสลบหรือคนในครอบครัวเคยแพ้ยาสลบหรือไม่ รวมถึงประวัติการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อลดความเสี่ยงจากผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายจากการใช้ยาสลบค่ะ
2. เช็คให้ชัวร์ก่อนทำ! แพทย์จะตรวจร่างกายอย่างละเอียดก่อนเข้ารับการผ่าตัดศัลยกรรมแบบดมยาสลบ
ขั้นตอนการตรวจร่างกายอย่างละเอียดก่อนทำศัลยกรรมที่ต้องมีการดมยาสลบ โดยก่อนวันผ่าตัดศัลยกรรมคุณหมอจะเช็คสุขภาพร่างกายเพื่อให้มั่นใจว่า ร่างกายมีความพร้อมสำหรับการทำศัลยกรรม ดังนี้
- วัดความดันโลหิต
- เจาะเลือด เพื่อตรวจสภาวะความพร้อมของเลือด และความผิดปกติต่างๆ ของเม็ดเลือด
- เอกซ์เรย์ปอด เพื่อเช็คภาวะผิดปกติของปอด
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ รวมถึงเช็คความแข็งแรงของหัวใจ
บรรยากาศการตรวจร่างกาย ก่อนทำศัลยกรรม ที่มีการดมยาสลบ
3. เตรียมญาติหรือคนดูแลหลังผ่าตัด
เนื่องจากฤทธิ์ของยาสลบ อาจส่งผลกระทบต่อความจำ สมาธิ และปฏิกิริยาตอบสนองต่างๆ ของผู้รับบริการชั่วคราว ภายใน 1-2 วัน ดังนั้น ก่อนทำศัลยกรรม ที่มีการดมยาสลบ ควรมีผู้คอยดูแลอย่างใกล้ชิดอย่างน้อย 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุหรืออาการเจ็บป่วยที่เป็นอันตรายค่ะ
สิ่งที่ผู้รับบริการต้องปฏิบัติ ก่อนทำศัลยกรรม ที่มีการดมยาสลบ
1. งดแต่งหน้าและทาครีมหรือโลชั่นทุกชนิดในวันผ่าตัด ในกรณีที่ผู้รับบริการสักปากหรือเพนท์สีปากมาต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่หรือพยาบาลทราบ เนื่องจาก
- วิสัญญีแพทย์ จะต้องใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจ ซึ่งต้องติดเทปบริเวณรอบปาก เพื่อยึดให้อุปกรณ์อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม การทาครีมหรือโลชั่นอาจทำให้เทปกาวหลุดและอาจทำให้อุปกรณ์ช่วยหายใจเลื่อนไปอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมระหว่างผ่าตัด ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
- ระหว่างผ่าตัดวิสัญญีแพทย์จะมีการมอนิเตอร์ผู้รับบริการ ซึ่งจะมีการสังเกตุสีปากขณะผ่าตัด เพราะในกรณีที่ออกซิเจนในเลือดต่ำลง สีปากจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ หากผู้รับบริการทาปาก สักปาก หรือเพนท์สีปากมาจะทำให้วิสัญญีแพทย์ไม่สามารถสังเกตสีปากของผู้รับบริการได้
2. ถอดเล็บปลอม ล้างสีเล็บ เพราะก่อนที่จะดมยาสลบเพื่อระงับความรู้สึก วิสัญญีแพทย์ จะทำการวัดค่าออกซิเจนในเลือดของผู้รับบริการ โดยวิธียิงแสงผ่านปลายนิ้วมือผู้รับบริการ ซึ่งการทาสีเล็บ หรือ ต่อเล็บปลอมจะทำให้การวัดค่าออกซิเจนคลาดเคลื่อน
แสง Red Light และ Infrared Light วิ่งทะลุไปที่ฐานเล็บเพื่อวัดค่าออกซิเจนในเลือด
3. ถอดฟันปลอมก่อนดมยาสลบ เนื่องจากในขณะใส่ท่ออาจะไปกระทบฟัน ซึ่งถ้าอุปกรณ์ไปกระทบอาจทำให้ฟันโยก ฟันอาจเข้าไปในหลอดลม ดังนั้นหากผู้รับบริการมีการติดฟันปลอมทั้งแบบถอดได้หรือแบบติดแน่น รวมทั้งฟันผุ ฟันโยก ต้องแจ้งให้วิสัญญีแพทย์ทราบก่อนผ่าตัด ดมยาสลบ
ก่อนทำหน้าอกงดอะไรบ้าง , ก่อนทำจมูกงดอะไรบ้าง , ก่อนทำศัลยกรรมห้ามกินอะไร
4. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด งดสูบบุหรี่ อย่างน้อย 7 วันก่อนผ่าตัด เพื่อลดเสมหะและอาการไอ นอกจากนี้ผู้รับบริการต้อง งดวิตามิน อาหารเสริมทุกชนิด และยาละลายลิ่มเลือด อย่างน้อย 4 สัปดาห์ก่อนผ่าตัดศัลยกรรม
5. งดน้ำและอาหารก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อความปลอดภัยในขณะ ดมยาสลบ เพราะขณะที่เรากำลังดมยาสลบ ร่างกายมีสภาวะผ่อนคลายอาจทำให้หลอดอาหารหย่อนตัวและเกิดการไหลกลับของน้ำและอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ซึ่งตรงนี้ หากเกิดการขย้อนอาหารออกมาจะทำให้อุดตันทางเดินหายใจได้นั่นเอง
- งดอาหารมื้อหลัก–เช่น–ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ข้าวต้ม เนื้อสัตว์ อย่างน้อย 8 ชั่วโมง ก่อนทำศัลยกรรม ที่ต้องดมยาสลบ
- งดอาหารมื้อเบา–เช่น–โจ๊ก และเครื่องดื่มที่ผสมนม หรือเครื่องดื่มที่มีกากใยไม่ว่าจะเป็น น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง รวมถึงน้ำผลไม้อย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนดมยาสลบ
- งดน้ำเปล่าและเครื่องดื่มใสที่ไม่มีกากใย เช่น กาแฟดำ 2 ชั่วโมงก่อนดมยาสลบ
เผลอรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม ก่อนทำศัลยกรรม ที่ต้องดมยาสลบจะทำยังไงดี
ในกรณีที่ผู้รับบริการมีการรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มในช่วงเวลาที่ต้องงดก่อนดมยาสลบ ควรแจ้งศัลยแพทย์หรือพยาบาลให้ทราบ โดยแจ้งประเภทอาหารที่รับประทาน , ปริมาณที่รับประทาน และเวลาที่รับประทาน เพื่อจัดเวลาผ่าตัดใหม่ให้เหมาะสมและปลอดภัยกับผู้รับบริการ กรณีที่ผู้รับบริการเผลอรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มในช่วงเวลางด และไม่มีการแจ้งศัลยแพทย์หรือพยาบาล อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายที่อาจถึงแก่ชีวิตได้
ทำไมต้องงดน้ำและงดอาหารทุกชนิด ก่อนการ ดมยาสลบ กรณีหิวก่อนผ่าตัดแอบกินจุ๊บจิ๊บได้ไหม
ก่อนทำศัลยกรรม ที่มีการดมยาสลบทำไมจะต้องงดน้ำงดอาหารก่อนผ่าตัด เพราะการดมยาสลบทำให้กล้ามเนื้อหลาย ๆ ส่วนรวมถึงหลอดอาหารเกิดการคลายตัว เศษอาหารที่อยู่ในกระเพาะอาจไหลย้อนกลับ จนทำให้เกิดการสำลักอาหารเข้าหลอดลมหรืออาจไปอุดตันหลอดลมจนทำให้เกิดอันตรายจนถึงแก่ชีวิต ในระหว่างการระงับความรู้สึกค่ะ กรณีที่ผู้รับบริการได้รับอาหารหรือน้ำเข้าไปในระยะเวลาที่ห้าม ต้องรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่หรือพยาบาลทราบทันที ดังนั้นก่อนที่จะผ่าตัดศัลยกรรมที่มีการดมยาสลบ เราจึงต้องงดน้ำและงดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมงเพื่อป้องกันอันตรายดังกล่าว และในกรณีที่ผู้รับบริการมีอาการเจ็บป่วยปัจจุบัน–เช่น–มีไข้ ไอ เจ็บคอ ท้องเสีย มีแผลติดเชื้อ ตาแดง ตาเจ็บ ฯลฯ กรุณาแจ้งให้พยาบาลทราบอย่างน้อย 2 วันก่อนผ่าตัดศัลยกรรมค่ะ
เราจะรู้สึกอย่างไรขณะดมยาสลบ
ขณะที่ผู้รับบริการถูกระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ ผู้รับบริการจะหลับไม่รู้สึกตัวและไม่รู้สึกเจ็บตลอดการผ่าตัด ซึ่งวิสัญญีแพทย์จะใส่ท่อช่วยหายใจหรือใช้หน้ากากออกซิเจนร่วมด้วยค่ะ
การพักฟื้นและอาการข้างเคียงหลังศัลยกรรมที่มีดมยาสลบ
การพักฟื้นจากฤทธิ์ของยาสลบ
- เมื่อการผ่าตัดศัลยกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว วิสัญญีแพทย์จะปลุกผู้รับบริการให้ตื่น และจะตรวจสอบผู้รับบริการเพื่อให้มั่นใจว่าผู้รับบริการตื่นจากการให้ยาระงับความรู้สึกแล้ว หลังจากนั้นจะย้ายผู้รับบริการไปยังห้องพักฟื้นเพื่อเฝ้าดูอาการ เมื่อวิสัญญีแพทย์มั่นใจว่าผู้รับบริการตื่นและไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด–ๆ–แล้วจะทำการเคลื่อนย้ายผู้รับบริการไปยังห้อง Admit ของโรงพยาบาลศัลยกรรม SLC ซึ่งพยาบาลวิชาชีพจะคอยดูแลผู้รับบริการตลอด 24 ชั่วโมง
- ในขณะพักฟื้นรักษาตัว ผู้รับบริการต้องรับประทานยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
- เมื่อศัลยแพทย์เห็นควรว่าสามารถกลับไปพักรักษาตัวที่บ้านได้ ผู้รับบริการไม่ควรขับขี่ยานพาหนะ ควรให้ญาติ ผู้ดแลเป็นผู้ขับ หรือกลับบ้านด้วยรถสาธารณะ
- รับประทานยาที่โรงพยาบาลศัลยกรรม SLC จัดให้จนครบ
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้หลังศัลยกรรมแบบดมยาสลบ
เมื่อวิสัญญีแพทย์หยุดให้ยาสลบ ผู้รับบริการอาจรู้สึกตัวด้วยอาการสะลึมสะลือ อ่อนเพลีย ท้องไส้แปรปรวน รู้สึกหายใจลำบาก อาการหนาวสั่น รวมถึงภาวะสับสนทางจิตใจ รู้สึกสับสนมึนงง หรือสูญเสียความทรงจำชั่วคราว และอาการข้างเคียงอื่น–ๆ–จนกว่ายาสลบจะหมดฤทธิ์ ในระหว่างนี้พยาบาลจะคอยดูแลอาการ และให้ผู้รับบริการรับประทานยารักษาผลข้างเคียงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
วิธีปฏิบัติเมื่อรู้สึกหายใจไม่สะดวกจากเสมหะ
การปฏิบัติเบื้องต้นเมื่อผู้รับบริการรู้สึกว่าหายใจไม่สะดวกเนื่องจากมีเสมหะ สามารถปฏิบัติโดยหายใจเข้าลึกๆ แล้วกลั้นไว้ จากนั้นหายใจออกพร้อมไอแรง ๆ ผู้รับบริการที่ตัดหนังหน้าท้อง หรือศัลยกรรมบริเวณหน้าท้อง ให้ใช้มือทั้ง 2 ข้างกุมแผลก่อนปฏิบัติ กรณีที่ผู้รับบริการพักฟื้นในโรงพยาบาลศัลยกรรม SLC สามารถกดปุ่มเรียกพยาบาลเพื่อดูอาการได้ตลอด 24 ชั่วโมงค่ะ
อาการข้างเคียงจากการใส่ท่อหายใจ
หลังจากที่ผ่าตัดศัลยกรรมแบบดมยาสลบเสร็จ ผู้รับบริการบางท่านอาจมีอาการข้างเคียงจากการใส่ท่อช่วยหายใจได้ เช่น–อาการเจ็บคอ เสียงเปลี่ยน เสียงแหบ เจ็บคอ ลิ้น ริมฝีปากเป็นแผล ฟันโยกหรือบิ่น ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้กับบางท่าน บางท่านก็ไม่มีอาการใด–ๆ–ค่ะ
Call : +66 2 714 9555
Whatsapp : +66 96 116 0806
Line@ : @SLCCLINIC
Or Click : https://cutt.ly/SLC
Messenger : http://m.me/SLCHospital
Our Branches : https://cutt.ly/branches