เรื่องต้องรู้! ก่อนหลับไม่ตื่น ดมยาสลบทำไมต้องมีวิสัญญีแพทย์

เปิดข้อสงสัย ทำไม! การทำศัลยกรรมเสริมความงาม ถึงจำเป็นต้องมีวิสัญญีแพทย์ในการดมยาสลบ แอดมิน เชื่อว่าสาว ๆ หลายคนคงเห็นข่าวการเสียชีวิตจากการทำศัลยกรรมมาบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งการเสียชีวิตจากการทำศัลยกรรม ในบางครั้งอาจเกิดจากฝีมือและประสบการณ์ของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด หรือ สถานพยาบาลที่ไม่ได้มาตรฐาน แต่รู้หรือเปล่าว่า 90% ของการเสียชีวิตขณะทำศัลยกรรมนั้น มีสาเหตุหลักมาจาก การดมยาสลบที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น การดมยาสลบโดยผู้ที่ไม่ใช่แพทย์เฉพาะทางด้านการดมยาสลบ ความเพียบพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับกู้ชีพฉุกเฉิน สภาพร่างกายของผู้รับบริการเอง และยังรวมไปถึงอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นขณะผ่าตัด อย่างเช่น ภาวะช็อคจากการเสียเลือดมากขณะผ่าตัด ภาวะหยุดหายใจขณะผ่าตัด ภาวะลิ่มเลือดอุดตันขณะหรือหลังผ่าตัด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดอันตรายขณะทำศัลยกรรมได้ทั้งนั้น วันนี้เรามาดูกันว่าก่อนการทำศัลยกรรมที่ต้องดมยาสลบ มีเรื่องสำคัญอะไรบ้างที่เราจำเป็นต้องรู้! ก่อนหลับไม่ตื่น จากการศัลยกรรม

วิสัญญีแพทย์ดมยาสลบ ขณะเสริมจมูก

วิสัญญีแพทย์ คือใคร เกี่ยวอะไรกับการทำศัลยกรรม

ก่อนศัลยกรรมถ้าเอ่ยคำว่า วิสัญญีแพทย์ เชื่อว่ากว่า 60% มักจะไม่รู้จักและไม่ค่อยสนใจกับคำ ๆ นี้ แต่รู้หรือเปล่าว่าคำ ๆ นี้สามารถกำหนดความเป็นความตายของคุณได้ เพราะการทำศัลยกรรมใด ๆ ก็ตามที่ต้องมีการระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ นอกจากศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดจะต้องมีความเชี่ยวชาญแล้ว ยังมีแพทย์อีก 1 ท่านที่ต้องมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่ง นั่นก็คือ วิสัญญีแพทย์ หรืออีกชื่อหนึ่งคือ หมอดมยา ซึ่งเป็น แพทย์ประจำห้องผ่าตัด มีหน้าที่หลัก คือ การช่วยระงับความรู้สึก ช่วยลดความกังวลและดูแลความปลอดภัยของผู้รับบริการตลอดการผ่าตัด โดยวิสัญญีแพทย์จะดูแลผู้รับบริการ ตั้งแต่การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าห้องผ่าตัด ดูอัตราการหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต สภาวะออกซิเจนในร่างกาย อุณหภูมิร่างกาย การจัด Position การจัดท่านอนของผู้รับบริการ คอยสังเกต ติดตาม รายงานผลผู้รับบริการระหว่างการผ่าตัดไปตลอดจนการดูแลหลังผ่าตัดในระยะแรก  ซึ่งวิสัญญีแพทย์จะต้องติดตามดูอาการของผู้รับการผ่าตัดอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา จนกระทั่งผู้รับบริการมีอาการดีขึ้น หรือ กลับห้องพักฟื้นตามปกติ นอกจากนี้หากพบความผิดปกติ วิสัญญีแพทย์จะต้องทำการรักษาและแก้ไขจนปลอดภัย ทั้งนี้วิสัญญีแพทย์จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมทั้งศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ และเครื่องมือใหม่ ๆ อยู่สม่ำเสมอเพื่อจะได้ดูแลผู้รับบริการได้อย่างปลอดภัยสูงสุด 

วิสัญญีแพทย์ = ผู้ที่ดูแลชีวิตคุณ

ในการทำศัลยกรรมที่มีการดมยาสลบ หลังจากที่ผู้รับบริการได้รับยาสลบไปแล้วจะอยู่ในสภาวะหลับลึก​ทำให้จะไม่สามารถหายใจเองได้​ต้องหายใจผ่านเครื่องช่วยหายใจ ซึ่งในขั้นตอนนี้วิสัญญีแพทย์จะเป็นผู้ดูแลการหายใจและสัญญาณชีพของผู้รับบริการขณะที่ศัลยแพทย์ทำผ่าตัด กรณีที่เกิดเหตุไม่คาดคิดระหว่างผ่าตัดวิสัญญีแพทย์จะต้องแก้ไขสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้รับบริการในขณะที่ดมยาสลบ วิสัญญีแพทย์ไม่ควรคลาดสายตาจากผู้รับบริการไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม 

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าผู้ที่ดมยาสลบไม่ใช่วิสัญญีแพทย์

การดมยาสลบโดยผู้ที่ไม่ใช่วิสัญญีแพทย์เปรียบเสมือนการนำชีวิตไปแขวนบนเส้นด้าย เพราะการให้ยาระงับความรู้สึก หากกำหนดปริมาณผิดเพียงนิดเนียวนั่นหมายถึงคุณหลับและไม่ตื่นขึ้นมาอีกเลย แบบที่เห็นข่าวการเสียชีวิตจากการได้รับยาสลบที่ไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นการดมยาสลบจึงไม่สามารถให้ใครทำแทนได้หากไม่ใช่วิสัญญีแพทย์ นอกจากนี้การดมยาสลบให้ปลอดภัยยังประกอบด้วยองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น ความพร้อมของเครื่องมือและอุปกรณ์ในการกู้ชีพ

วิสัญญีแพทย์คลาดสายตาจากผู้รับบริการเพียง 1 นาที = สู่ขิต 

เวลาที่เราดมยาสลบร่างกายจะอยู่ในสภาวะหลับลึก (Deep Sleep) ซึ่งกล้ามเนื้อทั้งร่างกายจะอยู่ในสภาวะผ่อนคลาย ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณช่องปากและคอหอย หรือบริเวณทางเดินหายใจ ที่จะเกิดการหย่อนตัวเหมือนกัน โดยเฉพาะลิ้นที่จะตกไปด้านหลังจนปิดกั้นทางเดินหายใจ วิสัญญีแพทย์จะต้องคอยมอนิเตอร์ตลอดเวลาเพื่อสังเกตุการหายใจของผู้รับบริการว่าหายใจได้ดีหรือเปล่า ทางเดินหายใจของผู้รับบริการมีการอุดกั้นไหม เพราะหากผู้รับบริการหยุดหายใจเพียง 1 นาที อาจเกิดอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นตลอดระยะเวลาในห้องผ่าตัด วิสัญญีแพทย์จะดูแลและจดจ่ออยู่กับผู้รับบริการเพียงอย่างเดียว หรือหากมีการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องใช้เวลาผ่าตัดนาน ก็จะมีการสลับสับเปลี่ยนทีมวิสัญญีแพทย์เพื่อดูแลผู้รับบริการ ดังนั้นการผ่าตัดศัลยกรรมแต่ละครั้งจะต้องมีวิสัญญีแพทย์ 1 คน ต่อผู้รับบริการ 1 ท่านเท่านั้น

ยกตัวอย่าง ในกรณีที่สถานพยาบาลบางแห่งมีวิสัญญีแพทย์เพียง 1 คนเพื่อดูแลผู้รับบริการ ซึ่งในวันนั้นมีผู้รับบริการ 2 ท่าน ที่ต้องทำการผ่าตัดในเวลาเดียวกัน วิสัญญีแพทย์เพียง 1 คนจะไม่สามารถดูแลผู้รับบริการทั้ง 2 ท่าน ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพภายในเวลาเดียวกัน และหากเกิดเหตุการณ์สุดวิสัยที่ไม่มีใครคาดคิดกับผู้รับบริการทั้ง 2 ท่าน ในเวลาเดียวกัน วิสัญญีแพทย์ 1 คน จะไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์และทำการรักษาผู้รับบริการทั้ง 2 ท่านภายในเวลาเดียวกันได้อย่างทันท่วงที ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยอย่างสูงสุดจึงจำเป็นต้องมีวิสัญญีแพทย์ 1 ท่าน ต่อการดูแลผู้รับบริการ 1 ท่าน

เช็คให้ชัวร์ คนดมยาสลบ ใช่วิสัญญีแพทย์ตัวจริงหรือเปล่า 

ถึงแม้ทุกอย่างจะฟังดูน่ากลัวจนไม่อยากจะดมยาสลบ แต่ก็ใช่ว่าการดมยาสลบนั้นจะเกิดเหตุไม่คาดคิดเสมอไป เพราะการดมยาสลบอย่างถูกวิธีตามมาตรฐานการดมยาสลบ จะทำให้ผู้รับบริการอยู่ในความปลอดภัยตั้งแต่ก่อนผ่าตัดไปตลอดจนผ่าตัดเสร็จเรียบร้อยค่ะ ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจทำศัลยกรรมที่ต้องมีการดมยาสลบอย่าลืมเช็คให้ชัวร์ว่าคนที่ทำหน้าที่ดมยาสลบนั้นเป็นวิสัญญีแพทย์จริง ๆ ไหม อย่าลืมว่าคนที่ทำให้คุณหลับเขาทำให้คุณตื่นได้หรือเปล่า? นอกจากนี้ต้องเลือกสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน มีศัลยแพทย์ที่เชี่ยวชาญ รวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยชีวิตครบครันเพียงเท่านี้ก็ทำศัลยกรรมได้อย่างสบายใจหายห่วงแล้วค่ะ

เรื่องต้องรู้ก่อนหลับไม่ตื่นเมื่อดมยาสลบ Meet The Doctor ความสำคัญของวิสัญญีแพทย์ ทำไมทุกศัลยกรรมที่มีการดมยาสลบถึงจำเป็นต้องมีวิสัญญีแพทย์ตัวจริง

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการดมยาสลบและวิสัญญีแพทย์

ทำไมต้องมีวิสัญญีแพทย์ 1 คน ต่อ ผู้รับบริการ 1 ท่าน 

หน้าที่ของวิสัญญีแพทย์ คือ ต้องคอยติดตามและสังเกตุอาการของผู้รับบริการอยู่ตลอดเวลาในขณะที่ศัลยแพทย์ลงมือผ่าตัด เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้รับบริการในขณะที่ดมยาสลบ วิสัญญีแพทย์ไม่ควรคลาดสายตาจากผู้รับบริการไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม เมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิดหากวิสัญญีแพทย์ช่วยเหลือไม่ทันท่วงทีนั่นหมายความว่าคุณจะไม่ได้ลืมตาขึ้นมาอีกเลย

ก่อนดมยาสลบต้องตรวจร่างกายไหม แล้วตรวจอะไรบ้าง

ก่อนการดมยาสลบจะต้องมีการตรวจร่างกาย เพื่อเช็คความพร้อมก่อนการผ่าตัดและการดมยาสลบ ซึ่งสิ่งที่ต้องตรวจได้แก่ ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบผิวหนัง ระบบหู ตา คอ จมูก ระบบแขน ขา ความผิดปกติของท่าทางการเดิน

  • เจาะเลือด เพื่อตรวจสภาวะความพร้อมของเลือด และความผิดปกติต่าง ๆ ของเม็ดเลือด
  • เอกซ์เรย์ปอด เพื่อเช็คภาวะผิดปกติของปอด 
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ รวมถึงเช็คความแข็งแรงของหัวใจระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด คู่มือเตรียมความพร้อมก่อนดมยาสลบ

การตรวจร่างกายก่อนศัลยกรรมที่มีการดมยาสลบ

กรณีที่ปอดมีความผิดปกติ สามารถดมยาสลบได้ไหม

อันดับแรกต้องทำการวินิจฉัยแยกโรคก่อนว่าภาวะที่เป็นคืออะไร ในบางเคสอาจจะต้องพ่นยา บางท่านอาจจะต้องปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเรื่องของปอดก่อน 

 

ถ้ามีโรคประจำตัวสามารถดมยาสลบได้ไหม

ไม่มีโรคประจำตัวที่ดมยาไม่ได้ ยกเว้นภาวะโรคที่ควบคุมตัวไม่ได้ 

 

หลังผ่าตัดที่มีการดมยาสลบสามารถขับรถเองได้หรือไม่

เป็นสิ่งที่เป็นข้อห้าม เพื่อเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุผู้รับบริการไม่ควรขับรถเองภายใน 24 ชั่วโมงหลังดมยาสลบ เนื่องจากฤทธิ์ของยาสลบอาจส่งผลกระทบต่อความจำ สมาธิ และปฏิกิริยาตอบสนองต่าง ๆ ของผู้รับบริการชั่วคราว ภายใน 1-2 วัน ซึ่งนอกจากการขับรถ ยังงดไปถึงการเซ็นเอกสาร การทำสัญญานิติกรรมใด ๆ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่ต้องใช้การตัดสินใจด้วยค่ะ

เป็นไปได้ไหมที่ผู้รับบริการสลบไม่เต็มที่ หรือหรือผู้รับบริการเกิดรู้สึกตัวในขณะที่กำลังผ่าตัดจะมีวิธีสังเกตุอย่างไรและมีวิธีแก้ไขอย่างไร

ภาวะตื่นขณะดมยาสลบ ในทางการแพทย์ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมาก อาจมีโอกาสเกิดขึ้นได้ซึ่งน้อยมาก ๆ  และโดยทั่วไปมักไม่ค่อยพบเจอ 

  • ตื่นขณะผ่าตัดเกิดจากอะไร ภาวะนี้ส่วนใหญ่มักเกิดจากการให้ยาสลบน้อยเกิดไป นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากภาวะผิดปกติของต่อมใต้ทางสมองที่ทำให้ยาต่าง ๆ  มีผลต่อร่างกาย หรือมีการเปลี่ยนแปลงของระบบหลอดเลือดและหัวใจ เช่น ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ มีโอกาสที่ยาสลบที่ใส่เข้าร่างกายจะไม่ได้ผล
  • ถ้าเกิดขึ้นจะแก้ไขอย่างไร ถึงแม้ภาวะนี้จะเกิดขึ้นได้ยาก แต่มีวิธีในการสังเกตุหลายอย่าง เช่น การดูชีพจร สัญญาณชีพ หรือสังเกตุลักษณะทางร่างกายของผู้รับบริการ เช่น รูม่านตาที่มีการขยายตัว การขยับแขนขาของผู้รับบริการ ซึ่งในปกติแล้ว วิสัญญีแพทย์จะมีการจดบันทึกอาการของผู้รับบริการ เช่น 5 นาทีที่แล้ว ความดันชีพจรเป็นอย่างไร อีก 5 นาทีต่อมาความดันชีพจรเป็นอย่างไร ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง วิสัญญีแพทย์จะต้องประเมินว่าเกิดจากสาเหตุใด

วิสัญญีแพทย์ กับ วิสัญญีพยาบาล ใช่หมอดมยาเหมือนกันไหม ทำไมสถานพยาบาลบางที่ให้ วิสัญญีพยาบาลทำหน้าที่ดมยาสลบแทน

วิสัญญีพยาบาลมีบทบาทสำคัญในการช่วยวิสัญญีแพทย์ทำหัตถการ การฉีดยาระงับความรู้สึกเข้าเส้นประสาท และเป็นผู้ช่วยวิสัญญีแพทย์ในการใส่ท่อช่วยหายใจ คอยติดตามสัญญาณชีพของผู้รับบริการและสังเกตุการฟื้นตัวของผู้รับบริการหลังการผ่าตัด ซึ่งวิสัญญีพยาบาลจะปฏิบัติงานภายใต้การดูแลของวิสัญญีแพทย์ และวิสัญญีพยาบาลจะทำหน้าที่เป็น Monitor ดูแลผู้รับบริการซึ่งหากเกิดเหตุสุดวิสัย วิสัญญีพยาบาลจะมีความสามารถขั้นพื้นฐานในการช่วยเหลือผู้รับบริการ แต่วิสัญญีพยาบาลไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอในการใส่ปริมาณยาระงับความรู้สึก ซึ่งคนที่จะประเมินได้ว่าผู้รับบริการแต่ละท่าน ต้องใช้ยาปริมาณเท่าไหร่ ใช้ยาตัวไหนถึงจะเหมาะก็คือวิสัญญีแพทย์ ที่เรียนมาเฉพาะด้าน ในปัจจุบันยังมีบางสถานพยาบาลบางแห่งที่ไม่ใช้วิสัญญีแพทย์วิสัญญี ในการดมยาสลบ ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายถึงแกชีวิตที่มักเห็นได้ตามข่าว

ยานอนหลับ กับ ยาสลบ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

  • ยานอนหลับ ทำให้ง่วงและหลับในระยะเวลาสั้นๆ และผู้รับบริการจะตื่นเมื่อถูกปลุก ไม่มีอาการข้างเคียงใดๆ
  • ยาสลบ ส่งผลให้ผู้รับบริการหมดสติอย่างรวดเร็วและหลับลึก แต่คุณสมบัติที่สำคัญของยาดมสลบก็คือ เมื่อค่อย ๆ ลดยาจนหยุดให้ยาแล้ว ผู้รับบริการจะค่อย ๆ ฟื้นคืนสติกลับมาใหม่ โดยไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อสมอง
  • ยาชาเฉพาะที่ ยาชาเฉพาะที่ผู้รับบริการจะรู้สึกตัว แต่ไม่รู้สึกเจ็บในบริเวณที่ผ่าตัด ใช้กับผ่าตัดเล็ก เช่น ทำตา ปาก จมูก Close หรือดูดไขมันในบางเคส

หากทำศัลยกรรมใหญ่สามารถใช้ยาชาแทนการดมยาสลบได้ไหม

การผ่าตัดทำศัลยกรรมใดบ้าง ที่ควรมีการดมยา และถ้าหากไม่ดมยา มีผลเสียหรือไม่อย่างไร

เหมือนบางหัตถการที่ต้องใช้ระยะเวลาผ่าตัดนานถ้าไม่ดมยา แล้วใช้แค่ยาชาอย่างเดียวอาจเสี่ยงทำให้เกิดการติดเชื้อได้ กับ 2 สำคัญมาก จุดประสงค์หลักของการดมยาคือทำให้ผู้รับบริการไม่รู้สึกตัว และลดความเจ็บปวดขณะผ่าตัด ถ้าบางหัตถการที่หนักๆ และต้องใช้ระยะเวลาผ่าตัดนานๆ อย่างเช่นการตัดหน้าท้อง ถ้าใช้ยาชาร่วมกับการฉีดยานอนหลับอย่างเดียว ผู้รับบริการอาจทนความเจ็บปวดขณะผ่าตัดไม่ไหว และอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้เหมือนกันค่ะ


SLC Hospital

Call : +66 2 714 9555

Whatsapp : +66 96 116 0806

Line@ : @SLCCLINIC

Or Click : https://cutt.ly/SLC

Messenger : http://m.me/SLCHospital

Our Branches : https://cutt.ly/branches