เมื่อพูดถึงการ ลดความอ้วน เชื่อว่าหลายคนคงเคยลดน้ำหนักมาหลากหลายวิธี ทั้งการอดอาหาร ปรับพฤติกรรมการกิน ออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งทานยาลดความอ้วน แต่ก็ไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ในบางรายอาจเกิดภาวะโยโย่จากการลดความอ้วนผิดวิธีทำให้กลับมาอ้วนกว่าเดิม ซึ่งน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดความวิตกกังวล ขาดความมั่นใจ ส่งผลเสียต่อสุขภาพและจิตใจ บางรายอาจมีผลกระทบต่องานรวมถึงในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันมีนวัตกรรมทางการแพทย์ Gastric Balloon ที่ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศมาเป็นเวลานานช่วยให้ผู้รับบริการสามารถ ลดน้ำหนักไม่ใช้ยา ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล โดยการส่องกล้อง ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร ( Spatz Slim ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ที่ไม่สามารถควบคุมหรือจำกัดปริมาณการรับประทานอาหารของตัวเองได้ให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้นและรับประทานอาหารไม่มากจนเกินขนาดของพื้นที่ในกระเพาะอาหาร ทำให้ผู้รับบริการสามารถลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยภายใต้การดูแลของศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารคืออะไร?
การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร Spatz Slim by SLC หรือชื่อทางการแพทย์เรียกว่า Gastric Balloon เป็นวิธีการลดน้ำหนักชนิดหนึ่งที่ไม่ต้องอาศัยผ่าตัด ไม่ต้องใช้ยา เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการ ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน แต่ไม่สามารถควบคุมอาหารได้และผู้มีภาวะเสี่ยงที่ไม่สามารถรับการผ่าตัดใด ๆ ได้ โดยศัลยแพทย์จะใช้วิธีการส่องกล้องและใส่บอลลูนซิลิโคน Spatz Slim เข้าไปในกระเพาะอาหาร ซึ่งภายในบอลลูนจะมีการบรรจุน้ำเกลือผสมกับสารสีฟ้าที่เรียกว่าเมทิลีนบูล (Methylene Blue) ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยศัลยแพทย์จะบรรจุน้ำเกลือผสมสารสีฟ้าในปริมาณตั้งแต่ 350 – 700 ซีซี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคลและการประเมินของศัลยแพทย์ เพื่อลดพื้นที่ในกระเพาะอาหาร ทำให้ผู้รับบริการรู้สึกอิ่ม และรับประทานอาหารได้น้อยลง
การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร ถือเป็นวิธีเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะในขั้นตอนต่อไป โดยทั่วไปจะใช้ระยะเวลาในการใส่บอลลูน ตั้งแต่ 6 – 12 เดือน ทั้งนี้ผู้รับบริการสามารถเอาบอลลูนออกได้ เมื่อได้ผลตามที่ต้องการแล้ว

ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร Gastric Balloon เหมาะกับใคร?
- ผู้ที่ไม่สามารถควบคุมการรับประทานอาหารได้ รวมถึงผู้ที่รับประทานอาหารมากผิดปกติ
- ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักแบบไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องทานยาลดความอ้วน
- ผู้ที่มีภาวะการนอนกรน การหยุดหายใจขณะหลับ คนที่มีอาการปวดเข่า เข่าเสื่อม โรคเบาหวาน
- ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เกิน 27 หรือ มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 30 ถึง 50
วิธีคำนวณค่าดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI)
ค่าดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง
ยกตัวอย่าง ผู้รับบริการ มีน้ำหนักตัว 70 กิโลกรัม ความสูง 152 เซ็นติเมตร หรือ 1.52 เมตร (1.522) เมื่อนำมาคำนวณจะได้ดังวิธีด้านล่าง
ดัชนีมวลกาย (BMI) | = 70 / (1.52 x 1.52) |
ค่าดัชนีมวลกาย | = 70 / 2.31 |
= 30.30 |
จากตัวอย่าง จะได้ค่าดัชนีมวลกายเท่ากับ 30.30 สำหรับคนไทยหรือคนเอเชียค่าดัชนีมวลกายควรอยู่ระหว่าง 25.00 – 29.99 ซึ่งแตกต่างจากชาวยุโรป เนื่องจากคนเอเชียมีสรีระรูปร่างเล็กกว่าชาวยุโรปจึงจำเป็นต้องปรับช่วงของดัชนีมวลกายให้ตรงกับโครงสร้างร่างกายของคนเอเชีย

ประโยชน์ของการ ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
- ขณะใส่บอลลูนช่วยให้อิ่มเร็วและนานขึ้นกว่าปกติ
-
ช่วยปรับพฤติกรรมการรับประทานในระยะยาวแม้ภายหลังถอดบอลลูน
-
น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วและปลอดภัย ภายใต้การดูแลของศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- ทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว โดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อยู่ภายใต้การดูแลของศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- สามารถลดอาการเสี่ยงจากโรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำหนักเกินได้ เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม คอเรลเตอรอลในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคความดันสูง เป็นต้น
- สุขภาพร่างกายดีขึ้น
- ทำให้มีรูปร่างที่ดีขึ้น เพิ่มความมั่นใจให้กับผู้รับบริการ

ข้อดีของการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
- ผู้รับบริการไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล สามารถกลับบ้านได้ใน 1-2 ชั่วโมงหลังการใส่บอลลูน
- ฟื้นตัวเร็ว ไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีรอยแผล ไม่ต้องใช้ยา และไม่เจ็บ
- มีความปลอดภัยสูง

ขั้นตอน ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
- ตรวจความพร้อมร่างกายของผู้รับบริการก่อนทำการใส่บอลลูน
- วิสัญญีแพทย์ให้ยานอนหลับ
- ทำการพ่นยาชาที่คอเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้รับบริการรู้สึกคลื่นไส้ และขย้อนบอลลูนออกมาในระหว่างการรักษา
- ศัลยแพทย์ทำการสอดใส่บอลลูนซิลิโคนผ่านทางหลอดอาหารจนถึงกระเพาะแล้วนำบอลลูนลงในตำแหน่งที่เหมาะสม
- เมื่อบอลลูนอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ศัลยแพทย์จะทำการฉีดน้ำเกลือผสมสารสีฟ้าเข้าไป ประมาณ 350 – 700 CC ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคลและการประเมินของศัลยแพทย์
- ภายหลังการใส่บอลลูน ผู้เข้ารับการจะต้องพักฟื้นเพื่อสังเกตุอาการ ผู้รับบริการที่มีอาการแน่นท้องและอาเจียนในปริมาณมาก พยาบาลจะให้รับประทานยาลดกรดและยาแก้อาเจียน

วิธีการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร Spatz Slim
ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร ที่โรงพยาบาลศัลยกรรม SLC ดียังไง?
-
ศัลยแพทย์เฉพาะทาง เชี่ยวชาญด้านการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
-
ใส่บอลลูนโดยวิธีการส่องกล้อง ไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีรอยแผล
-
น้ำหนักลดลง เฉลี่ย 10-20 กิโลกรัม ภายใน 1 ปี
-
โรงพยาบาลศัลยกรรมมาตรฐาน Boutique Hospital ของไทย
-
เทคโนโลยีห้องผ่าตัดทันสมัย ควบคุมความสะอาดปลอดภัยด้วยระบบคอมพิวเตอร์
-
วิสัญญีแพทย์ดมยาสลบแบบ 1:1
-
เครื่องป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในเคสดมยาสลบ
-
พยาบาลวิชาชีพดูแลแบบ 1:1 ตลอด 24 ชั่วโมง
-
Personal Patient Advisor ผู้ดูแลให้คำปรึกษาส่วนตัวด้านศัลยกรรม
-
การบริการเป็นเลิศ ดูแลและติดตามผลหลังใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
-
ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า SLC และเป็นที่ยอมรับในกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติด้านการลดน้ำหนักและปรับรูปร่าง

การเตรียมตัวก่อน ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
- งดรับประทานอาหารก่อนเข้ารับบริการอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
- งดน้ำอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
- งดสูบบุหรี่ ดื่มสุรา รวมถึงงดรับประทานอาหารหมักดอง
- ผู้เข้ารับการใส่บอลลูนต้องรับประทานยาลดกรด ก่อนอาหารเช้าและเย็น เป็นเวลา 14 วัน
การดูแลตัวเองในขณะใส่บอลลูน
- ควบคุมการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง
- ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- พบศัลยแพทย์หลังการใส่บอลลูน 1 สัปดาห์ เพื่อติดตามผลหลังใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร และพบศัลยแพทย์สม่ำเสมอตามนัดเพื่อปรับขนาดบอลลูน
แนวทางในการรับประทานอาหารและการปฏิบัติตัว
หลังการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารเพื่อ ลดความอ้วน สิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจเป็นอันดับแรก คือเรื่องของอาหารและสารอาหารที่ร่างกายจำเป็นจะต้องได้รับ เมื่อบอลลูนขยายตัวอยู่ในกระเพาะอาหารจะทำให้กระเพาะอาหารมีขนาดเล็กลง ทำให้การรับประทานอาหารแต่ละครั้งจะทำได้ไม่มาก ทำให้ต้องมีการปรับระดับความละเอียดของอาหาร โดยมีวิธีการปฏิบัติตัวดังนี้
- 2 สัปดาห์แรก ผู้รับบริการยังไม่ควรรับประทานทานอาหารหนัก ควรเลือกรับประทานอาหารเหลวที่ย่อยง่ายเพื่อให้ร่างกายปรับตัว
- รับประทานวิตามินรวมหนึ่งครั้งต่อวันตามคำแนะนำของศัลยแพทย์
- รับประทานอาหารมื้อเล็กทุก 2-4 ชั่วโมง หากรู้สึกหิว ไม่ควรรับประทานก่อนถึงเวลามื้ออาหาร เพื่อป้องกันการรับประทานเร็วหรือมากเกินไป
- ควรเคี้ยวอาหารช้า ๆ ในแต่ละมื้อควรใช้เวลาประมาณ 20-30 นาทีเป็นอย่างต่ำ
- เตรียมเมนูที่สมดุลหลากหลายและมีสารอาหารครบถ้วน ควรมีโปรตีนอยู่ในมื้ออาหาร
- ระหว่างวัน ควรดื่มน้ำหรือของเหลว 8-10 แก้ว เพื่อป้องกันท้องผูก
- ควรนั่งรับประทานอาหารที่โต๊ะโดยไม่ทำกิจกรรมอื่น เช่น ดู TV ขณะรับประทานอาหาร
- หลีกเลี่ยงน้ำหวาน น้ำผลไม้ อาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาลสูง พลังงานสูง
- หลีกเลี่ยงการรับประทานก่อนถึงเวลามื้ออาหาร
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารทุกชนิด 3-4 ชั่วโมง ก่อนการนอน
ปรับพฤติกรรมการกิน ขณะใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
สัปดาห์แรก ผู้รับบริการควรรับประทานอาหารเหลว ใส จิบน้ำเปล่า 1/4 แก้วทุกชั่วโมง ไม่ควรดูดน้ำจากหลอดโดยตรง เพราะอากาศที่เกิดจากการดูดน้ำจะไปอยู่ในกระเพาะอาหาร ทำให้ท้องอืด แน่นท้องหรือรู้สึกไม่สบายท้องได้
- วันแรก จิบน้ำเปล่า ปริมาณ 1/4 ของแก้ว ทุกชั่วโมง
- วันที่ 2 ดื่มน้ำผักสกัดเย็น สามารถรับประทานซุปใสได้
- วันที่ 3 เป็นต้นไป ให้รับประทานอาหารเหลว โดยสามารถเพิ่มความข้นของอาหารได้ เช่น ซุป น้ำผลไม้ นม น้ำเต้าหู้ โยเกิร์ต ชา กาแฟ
สัปดาห์ที่ 2 รับประทานอาหารบด เช่น มันฝรั่งบด ปลาบด เนื้อไก่บด(ไม่ติดหนัง) เนื้อสัตว์บด (ไม่ติดมัน) หากต้องการรับประทานข้าวสามารถปั่นข้าวและเนื้อสัตว์เข้ากันได้ ผู้รับบริการสามารถเพิ่มอาหารใหม่ได้ทุกวัน โดยค่อย ๆ เพิ่มครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ แต่บ่อยๆ ในช่วงรอบวันเพื่อให้ร่างกายคุ้นชิน หากรับประทานแล้วรู้สึกไม่สบายตัว เช่น มีอาการเจ็บแน่นท้อง รู้สึกอึดอัด ควรหยุดรับประทานหรือเว้นระยะก่อน 2-3 วัน และลองรับประทานใหม่ภายหลัง
- รับประทานนม โยเกิร์ตรสธรรมชาติ น้ำผักสกัดเย็น/ปั่น มันฝรั่งบด
- วันที่ 9 สามารถรับประทานเนื้อปลาบด เนื้อไก่บด(ไม่ติดหนัง) ได้
- วันที่ 12 รับประทานไข่ได้
สัปดาห์ที่ 3 รับประทานอาหารปกติได้ แต่ต้องบดเนื้อสัตว์, ผักและผลไม้ให้ละเอียด
สัปดาห์ที่ 4 สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่ต้องควบคุมปริมาณอาหารตามระดับความอิ่มที่พอดี ผู้รับบริการสามารถทานอาหารเผ็ดและสมุนไพรได้ ไม่มีผลกระทบต่อบอลลูนซิลิโคน
- วันที่ 21 เป็นต้นไป สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ
ลำดับการเลือกสารอาหาร
เมื่อรับประทานอาหารได้น้อยลง สิ่งสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารควรให้ความสำคัญของสารอาหาร ควรเลือกทานอาหารประเภทโปรตีนก่อนจากนั้นจึงให้ความสำคัญกับ ผักและผลไม้และอาหารอื่นตามลำดับ
- โปรตีน เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื้อไก่ ไข่ เต้าหู้ หรือ มื้อว่างอาจจะเลือกทานเป็นนมหรือโยเกิร์ต
- หลีกเลี่ยงน้ำหวาน น้ำผลไม้ อาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาลสูง พลังงานสูง เพราะจะทำให้การลดน้ำหนักยากขึ้น
แนวทางการรับประทานอาหาร ภายหลังนำบอลลูนออก
ภายหลังนำบอลลูนออก ผู้รับบริการสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่ต้องเลี่ยง อาหารไขมันสูง อาหารประเภทผัด ทอด รวมถึงอาหารที่ใช้น้ำมันจำนวนมากในการปรุง เพราะจะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานสูง โดยปกติร่างกายควรได้รับพลังงานประมาณ 1,200 กิโลแคลอรี ต่อวัน เพื่อไม่ให้กลับมาอ้วนอีก
-
อาหารปกติ ประเภทต้ม ตุ๋น นึ่ง อบ ย่าง
-
เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
-
จำกัดแป้งให้พอเหมาะ (ข้าว 1 ทัพพี หรือ ขนมปัง 1 แผ่น ต่อมื้อ)
- เลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง (ขนมหวาน, เบเกอรี, ไอศกรีม, โดนัท รวมถึงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง)
อาหารที่ควรเลี่ยงหลังนำบอลลูนออก
-
อาหารไขมันสูง เช่น อาหารประเภทผัด ทอด อาหารที่ใช้น้ำมันจำนวนมากในการปรุง
-
เนื้อสัตว์ติดมัน หนังไก่
-
เนย มาการีน (เนยเทียม)
การปฏิบัติตัวภายหลังนำบอลลูนออก

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
- หลังจากผ่านไป 5 – 8 ชั่วโมง ผู้รับบริการอาจมีอาการคลื่นไส้ เนื่องจากร่างกายต้องการขย้อนบอลลูนออกมา และจะมีอาการลักษณะนี้ประมาณ 3-4 วันแรก หลังจากนั้นอาการจะดีขึ้นเรื่อยๆ จนกลับสู่สภาวะปกติ
- ผู้รับบริการจะรับประทานอาหารได้น้อยลงจากเดิม 1 ใน 3 ส่วนของปริมาณที่เคยรับประทาน
ข้อจำกัดของการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
- เมื่อน้ำหนักลงได้สักระยะ 4-6 เดือน มีโอกาสที่จะไม่รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงทำให้ต้องมาเพิ่มน้ำเกลืออีกครั้ง ทำให้อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายหลายครั้ง
- อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
- อาจเกิดภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร
- อาจเกิดภาวะอุดตันในกระเพาะอาหาร
ผู้ที่ไม่ควรใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
- สตรีตั้งครรภ์หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์
- ผู้ที่มีอาการแพ้ยางซิลิโคน
- ผู้ที่มีความผิดปกติในหลอดอาหาร ทำให้ส่องกล้องลงไปไม่ได้ เช่น หลอดอาหารตีบตัน รั่ว หรือเคยได้รับอุบัติเหตุกับหลอดอาหาร
- ผู้ที่มีความผิดปกติในกระเพาะอาหาร (เป็นแผลในกระเพาะอาหาร, มีอาการตกเลือดในกระเพาะ รวมถึงผู้ที่มีภาวะกรดไหลย้อนอย่างรุนแรง)
- ผู้ที่มีภาวะเลือดออกง่าย เลือดแข็งตัวยาก
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวรุนแรง (โรคหัวใจ, โรคติดเชื้อในกระแสเลือด, โรคปอดที่มีภาวะรุนแรงและยังควบคุมไม่ได้, ปอดติดเชื้อ และ ติดเชื้อในช่องท้อง)
- ผู้ที่ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จนไม่สามารถเลิกได้
- ผู้ป่วยที่ต้องรักษาด้วยกลุ่มยาต้านเกล็ดเลือด ยาละลายลิ่มเลือด รวมถึงยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
รีวิวใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารจากลูกค้าจริง ลดน้ำหนักไม่ใช้ยา
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการ ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
Q: เมื่อใส่บอลลูนเข้าไปในกระเพาะอาหารแล้ว บอลลูนจะอยู่ได้นานแค่ไหน?
A : โดยปกติจะใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารเป็นระยะเวลา ประมาณ 1 ปี หรือหากได้ผลลัพธ์เป็นที่พอใจสามารถนำบอลลูนออกได้ ไม่ได้ใส่บอลลูนตลอดชีวิต โดยในช่วงที่ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารศัลยแพทย์จะให้ยาเพื่อลดกรดในกระเพาะอาหาร
Q : ในขณะใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติหรือไม่ และมีอาหารใดบ้างที่ห้ามรับประทาน?
A : ในขณะใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารผู้รับบริการจะรับประทานอาหารได้น้อยลง 1 ใน 3 ของปริมาณอาหารที่รับประทานในช่วงก่อนใส่บอลลูน ทั้งนี้ในขณะใส่บอลลูนไม่มีข้อห้ามเรื่องประเภทอาหารเป็นพิเศษ
Q : การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร สามารถลดน้ำหนักได้กี่กิโลกรัม?
A : ในช่วง 3-4 เดือนแรกของการ ลดความอ้วน น้ำหนักตัวจะลดลงอย่างรวดเร็ว และหลังจากนั้นน้ำหนักตัวจะค่อยๆ ลดลงแบบคงที่ โดยทั่วไปผู้รับบริการที่ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารสามารถ ลดน้ำหนัก ได้โดยเฉลี่ย 15 กิโลกรัม ถึง 20 กิโลกรัม หรืออย่างน้อย 10-15 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวเดิม
Q : ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันตามปกติได้หรือไม่?
A : ในช่วงสัปดาห์แรกยังไม่ควรทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก เมื่อร่างกายปรับตัวได้แล้วผู้รับบริการสามารถใช้ชีวิตประจำวันและทำกิจกรรมได้ตามปกติและควรออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้การลดน้ำหนักเห็นผลลัพธ์ได้เร็วขึ้นและมีสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้น
Q : ภายหลังถอดบอลลูนมีโอกาสที่น้ำหนักตัวจะเพิ่มหรือไม่?
A : เพื่อรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ผู้รับบริการควรรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมือนกับในขณะที่ยังใส่บอลลูนอยู่ ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ในขณะใส่บอลลูนนักโภชนาการจะแนะนำแนวทางการรับประทานอาหารและ ปรับพฤติกรรมการกิน ของผู้รับบริการให้เหมาะสม ดังนั้นผู้รับบริการจะมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมภายหลังใส่บอลลูน ซึ่งในระยะเวลาตั้งแต่ 6-9 เดือนขึ้นไป ร่างกายจะเกิดการปรับตัวและเกิดเป็นพฤติกรรมถาวร ทำให้ภายหลังถอดบอลลูนออก เมื่อรับประทานอาหารในปริมาณเท่าเดิมก็จะรู้สึกอิ่มเหมือนกับช่วงที่ใส่บอลลูนอยู่