มะเร็งเต้านม มะเร็งร้ายที่พบมากเป็นอันดับ 1 ของผู้หญิงทั่วโลก ซึ่งผู้ป่วยที่เผชิญกับโรคมะเร็งเต้านมต้องแบกรับภาระหลายอย่างในการต่อสู้กับโรคมะเร็งเต้านม ทั้งค่าใช้จ่ายการรักษา การหาสถานพยาบาลที่รองรับ อีกทั้งผู้ป่วยยังต้อง ผ่าตัดนมมะเร็ง เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งออกอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิด-19 ที่ผู้ป่วยโควิด-19 มีจำนวนมาก จนส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์และสถานพยาบาลไม่เพียงพอในการรองรับผู้ป่วยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงยิ่งทวีความลำบากให้แก่ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จากสถานการณ์ดังกล่าวจึงเป็นที่มาของ โรงพยาบาลศัลยกรรมSLC ในการเริ่มต้นโครงการ SLC Breast Cancer สถานพยาบาลทางเลือกให้บริการ ผ่าตัดมะเร็งเต้านม และ ผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ แก่ผู้ที่เผชิญโรคร้าย โดยไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายแก่ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในช่วงสถานการณ์โควิด-19 

ผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ ผ่าตัดนมมะเร็ง ผ่าตัดมะเร็งเต้านม ผ่าตัดแบบสงวนเต้า ราคา มะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม SLC Breast Cancer เสริมหน้าอกหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านม

วิธีที่ใช้ในการ ผ่าตัดมะเร็งเต้านม 

สำหรับวิธีที่ใช้ในการ ผ่าตัดนมมะเร็ง สามารถทำได้ทั้งการผ่าตัดแบบเก็บสงวนเต้านมและตัดเต้านมทิ้ง ทั้งนี้ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดด้วยวิธีใดขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของมะเร็งที่เป็น โดยศัลยแพทย์จะทำการ ผ่าตัดมะเร็งเต้านม เฉพาะก้อนเนื้อที่เป็นเซลล์มะเร็งออกจากร่างกายผู้ป่วยเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่การรักษาโรคมะเร็งเต้านม

  • ผ่าตัดแบบสงวนเต้า โดยการดมยาสลบ
  • ผ่าตัดมะเร็งเต้านม ตัดชิ้นเนื้อร้ายและเลาะต่อมน้ำเหลืองออก โดยการดมยาสลบ
  • ตัดชิ้นเนื้อร้ายและเลาะต่อมน้ำเหลืองออก พร้อมเสริมซิลิโคนหน้าอก หรือยกกระชับหน้าอก โดยการดมยาสลบ

เสริมสร้างเต้านมใหม่ มะเร็งเต้านม ผ่าตัดมะเร็งเต้านม ผ่าตัดนมมะเร็ง โรคมะเร็งเต้านม

ผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ ผ่าตัดนมมะเร็ง ผ่าตัดมะเร็งเต้านม ผ่าตัดแบบสงวนเต้า ราคา มะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม SLC Breast Cancer เสริมหน้าอกหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านม

ผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ ความเป็นหญิงต้องไม่หายไป

ผู้ป่วยหญิงจำนวนไม่น้อยมีความกังวลเป็นอย่างมาก เมื่อจะต้องผ่าตัดมะเร็งเต้านม ซึ่งในบางรายจำเป็นต้องตัดเต้านมทิ้ง ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความมั่นใจ โรงพยาบาลศัลยกรรมSLC เข้าใจถึงความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น และไม่อยากให้ผู้หญิงต้องสูญเสียภาพลักษณ์และความมั่นใจของตัวเองไป SLC Breast Cancer จึงเป็นตัวแทนที่จะช่วยเรียกคืนความมั่นใจของผู้หญิงให้กลับมาดังเดิม ในการให้บริการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ ในผู้ที่ต้องตัดเต้าทิ้งจากมะเร็ง เพราะผู้หญิงจะไม่หยุดสวย

ผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ ผ่าตัดนมมะเร็ง ผ่าตัดมะเร็งเต้านม ผ่าตัดแบบสงวนเต้า ราคา มะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม SLC Breast Cancer เสริมหน้าอกหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านม

หลักการ ผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่

สำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ถูกตัดเต้านมทิ้ง การเสริมสร้างเต้านมใหม่จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กลับมาภายหลังการผ่าตัดมะเร็งเต้านม โดยการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมนั้นสามารถทำได้ 2 กรณี คือ 

  1. ผู้ป่วยที่เซลล์มะเร็งยังไม่มีการแพร่กระจายและไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรักษาด้วยการฉายแสง สามารถผ่าตัดมะเร็งเต้านมออกแล้วเสริมสร้างเต้านมใหม่ทันที 
  2. ผู้ป่วยที่รักษามะเร็งเต้านมจนหายขาดโดยไม่พบการเกิดใหม่ของเซลล์มะเร็งแล้ว และผิวหนังบริเวณหน้าอกยังมีสภาพดีอยู่ สามารถผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ได้ภายหลังการรักษาเสร็จสิ้น

ผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ ผ่าตัดนมมะเร็ง ผ่าตัดมะเร็งเต้านม ผ่าตัดแบบสงวนเต้า ราคา มะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม SLC Breast Cancer เสริมหน้าอกหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านม

เทคนิคที่ใช้ในการผ่าตัด เสริมเต้า

การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมที่โรงพยาบาลศัลยกรรมSLC มีทั้งหมด 4 เทคนิค ตามความเหมาะสมและความต้องการของผู้รับบริการแต่ละราย ดังนี้

  1. การย้ายเนื้อเยื่อจากบริเวณอื่นของร่างกายเพื่อนำมาปลูกถ่ายเสริมสร้างเต้านมใหม่ ซึ่งเนื่อเยื่อที่นิยมนำมาใช้ในการปลูกถ่ายเพื่อเสริมสร้างเต้านมใหม่ ได้แก่ กล้ามเนื้อหน้าท้อง และกล้ามเนื้อบริเวณหลัง
  2. การเสริมเต้านมด้วยถุงเต้านมเทียม ในกรณีที่ผิวหนังบริเวณเต้านมไม่ได้ถูกตัดออกไปมาก ศัลยแพทย์สามารถเสริมเต้านมด้วยถุงเต้านมเทียม โดยศัลยแพทย์จะผ่าตัดเสริมถุงเต้านมเทียมในตำแหน่งใต้กล้ามเนื้อหน้าอก
  3. การใช้ Tissue expander เพื่อยืดผิวหนังบริเวณหน้าอก เมื่อยืดผิวหนังได้ในขนาดที่ต้องการศัลยแพทย์จะผ่าตัดเสริมถุงเต้านมเทียมเข้าไปในตำแหน่งใต้กล้ามเนื้อ
  4. การเสริมเต้านมด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ไขมัน (Fat Transfer) โดยนำไขมันจากบริเวณหน้าท้อง สะโพก หรือบริเวณต้นขา มาปลูกถ่ายเพื่อ เสริมสร้างเต้านมใหม่ แต่วิธีนี้มีข้อจำกัดคือต้องใช้ปริมาณไขมันเยอะ และสเต็มเซลล์ไขมันที่ปลูกถ่ายอาจติดเพียง 80% อาจมีโอกาสที่หน้าอก 2 ข้างจะมีขนาดไม่เท่ากัน
  5. ผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ ด้วยการใช้ถุงเต้านมเทียมร่วมกับการปลูกถ่ายไขมันสเต็มเซลล์ หรือการเสริมสร้างเต้านมแบบไฮบริด

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่ไม่สามารถผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมได้

  1. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ยังไม่ได้รับการรักษามะเร็งเต้านมจนหายขาด
  2. ผู้ป่วยที่มีผิวหนังบริเวณหน้าอกบางมากไม่เอื้อต่อการผ่าตัดเสริมหน้าอก หรือผิวหนังเกิดความเสียหายจากการฉายรังสีหลายครั้ง โดยแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัย
  3. ผู้ป่วยที่ยังไม่ได้ทำการผ่าตัดเอาเนื้อร้าย หรือเนื้อเต้านมเดิมออก ซึ่งอาจก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
  4. ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงด้านอื่นๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายสูง ระหว่างหรือหลังการผ่าตัด
  5. ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง รวมถึงมีประวัติแพ้สิ่งแปลกปลอมในร่างกาย

Breast Cancer Saves Your Life ราคา Package ผ่าตัดมะเร็งเต้านม

ผ่าตัดมะเร็งเต้านม ตัดเต้านม ผ่าตัดนมมะเร็ง ผ่าตัดแบบสงวนเต้า ผ่าตัดเสริมสร้างเต้านม เสริมเต้า เสริมเต้าเทียมผู้ที่สูญเสียเต้า เสริมหน้าอกหลังผ่ามะเร็ง ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

การเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด

ทางด้านจิตใจ : ศัลยแพทย์ประเมินความพร้อมด้านจิตใจ และผู้ป่วยเตรียมความพร้อมเพื่อรับการภาพลักษณ์ใหม่

ทางด้านร่างกาย : ตรวจประเมินร่างกายก่อนการผ่าตัด

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด

  1. งดรับประทานยาละลายลิ่มเลือด ยาสเตียรอยด์ ยาแก้ปวด ยาลดกล้ามเนื้ออักเสบ วิตามินและอาหารเสริมทุกชนิด อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด (ยาโรคประจำตัวควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้ทำการรักษา)
  2. งดสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 2 สัปดาห์ 
  3. ควรสระผมให้เรียบร้อยก่อนวันผ่าตัด งดใส่คอนแทคเลนส์ (หากมีปัญหาด้านสายตาให้ใส่แว่นสายตามาทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด) ไม่แต่งหน้า ทาเล็บ หรือใส่เครื่องประดับในวันผ่าตัด กรุณาเก็บของมีค่าไว้ที่บ้าน
  4. กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วยปัจจุบัน เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ ท้องเสีย มีแผลติดเชื้อ ตาแดง ตาเจ็บ ฯลฯ กรุณาแจ้งให้พยาบาลทราบอย่างน้อย 2 วันก่อนผ่าตัด

การเตรียมตัววันผ่าตัด

  1. วันผ่าตัด ควรใส่เสื้อผ้าที่หลวมและใส่สบายในวันผ่าตัด ควรเป็นเสื้อที่มีกระดุมหน้า 

การดูแลตัวเองหลังผ่าตัด มะเร็งเต้านม

  1. หลังผ่าตัด ควรเริ่มประคบเย็นทันที เพื่อลดอาการบวมของแผล สามารถใช้เจลเย็นสำเร็จรูป (cool pack) วางบนผ้าสะอาดแล้วประคบบริเวณแผล 20 นาที หลังจากนั้น พัก 20 นาที แล้วประคบใหม่สลับกันไป ทำอย่างต่อเนื่องหลังผ่าตัด 48 ชั่วโมงแรก จากนั้นประคบเย็นต่อไปวันละ 2-3 ครั้ง
  2. รับประทานยาตามที่โรงพยาบาลศัลยกรรม SLC จัดให้จนครบ
  3. หลังผ่าตัดมะเร็งเต้านมยังไม่ควรยกแขนสูง เพื่อป้องกันแผลปริแตก
  4. ป้องกันไหล่ แขน และมืออย่าให้ถูกความร้อน ควรหลีกเลี่ยงการตากแดดจัด และป้องกันแขนและหน้าอกด้วยการทาโลชั่นกันแดดที่มีค่า SPF มากกว่า 15 ขึ้นไป
  5. ศัลยแพทย์จะนัดเข้ามาติดตามผลหลังการผ่าตัด 7-14 วัน
  6. ภายหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านม ผู้รับบริการอาจเกิดภาวะข้อไหล่ติด อันเนื่องมาจากอาการปวดตึงแผล กล้ามเนื้อหลังผ่าตัดจะรู้สึกยึด ทำให้ยกแขนข้างที่ผ่าตัดได้น้อย

ขั้นตอนการบริหารร่างกายเพื่อป้องกันภาวะข้อไหล่ติด

  1. กำ-แบมือ 5-10 ครั้ง
  2. งอ-เหยียดข้อศอก 5-10 ครั้ง
  3. ยกไหล่ขึ้นลง
  4. ห่อไหล่มาด้านหน้า และแบะไหล่ไปด้านหลัง
  5. หมุนหัวไหล่เป็นวงกลม
  6. ยกแขนไปด้านหน้า เหยียดแขนไปด้านหลัง
  7. ยืดหันฝ่ามือเข้าหาผนัง
  8. บิดไหล่โดยประสานมือไว้ด้านหลังสลับกับประสานมือไว้ด้านหลังศีรษะ 
  9. บริหารกล้ามเนื้อแขนและไหล่

ข้อควรระวังภายหลังการ ผ่าตัดมะเร็งเต้านม

  • อาการชาอันเนื่องมาจากการผ่าตัด ผู้รับบริการอาจรู้สึกชาเป็นบางครั้งบริเวณผิวหนังของแขนด้านใน หรืออาจรู้สึกแปล๊กๆ บริเวณหน้าอก หัวไหล่ รักแร้ และ แขน โดยอาการชาจะดีขึ้นใน 1-3 เดือนหลังการผ่าตัด หรือ ในบางรายอาการอาจอยู่ตลอดไป
  • ภาวะ Lymphedema หรืออาการแขนบวมที่เกิดจากทางเดินน้ำเหลืองอุดตัน อาจเกิดขึ้นได้ทันทีภายหลังการผ่าตัดมะเร็งเต้านม หรือ อาจเกิดหลังจากผ่าตัดไป 1-5 ปี วิธีป้องกัน สามารถทำได้โดยการยกแขนให้สูง หรือห้อยแขนขณะนอน
  • หมั่นสังเกตุและวัดเส้นรอบวงแขนข้างที่ผ่าตัดมะเร็งเต้านม โดยบริเวณที่วัดจะอยู่เหนือ หรือ ใต้ข้อศอก เล็กน้อย หากเส้นรอบวงแขนข้างที่ผ่าตัดมากกว่าด้านที่ไม่ได้ผ่าตัด 2 ซ.ม. จัดว่าเป็นภาวะ Lymphedema

ผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ ผ่าตัดนมมะเร็ง ผ่าตัดมะเร็งเต้านม ผ่าตัดแบบสงวนเต้า ราคา มะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม SLC Breast Cancer เสริมหน้าอกหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านม

พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดภาวะ Lymphedema 

  • การนอนทับแขนข้างที่ผ่าตัด
  • ยกของหนัก
  • การอุ้มเด็ก
  • ควรเลี่ยงกีฬา ประเภท กอล์ฟ ว่ายน้ำ เทนนิส แบคมินตัน กีฬาที่ต้องใช้กำลังแขน
  • การทำสวน
  • การทำงานบ้าน
  • วัดความดันแขนข้างที่ผ่าตัดมะเร็งเต้านม
  • ฉีดยา หรือการให้น้ำเกลือแขนข้างที่ผ่าตัด
  • สวมใส่เครื่องประดับหรือเสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป


SLC Hospital

Call : +66 2 714 9555

Whatsapp : +66 96 116 0806

Line@ : @SLCHOSPITAL

Or Click : https://bit.ly/SLCHospital

Messenger : http://m.me/SLCHospital

Our Branches : https://cutt.ly/branches